เมนู

สมาธิลักขณปัญหา ที่ 11


ราชา

สมเด็จพระเจ้ามิลินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า
แต่พระนาคเสนผู้ประกอบด้วยปรีชา สมาธิมีลักษณะอย่างไร
พระนาคเสนวิสัชนาแก้ไขย่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร สมาธินี้มีลักษณะ
เป็นประธาน อันว่ากุศลธรรมบรรดามีนั้น สมาธิปมุขา มีพระสมาธิเป็นประธานเป็นหัวหน้า
สมาธินินนา มีพระสมาธิเป็นจอม สมาธิโปณา มีพระสมาธิเป็นเงื้อม สมาธิปพฺภารา มีพระ
สมาธิปกงำ ตกว่ากุศลธรรมทั้งปวงนี้ มีสมาธิเป็นปุเรจาริก ดังนี้ จึงว่าสมาธิมีลักษณะเป็นประ
ธาน พระราชสมภารพึงเข้าพระทัยด้วยประการฉะนี้
พระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสว่า นิมนต์พระผู้เป็นเจ้ากระทำ
อุปมาไปก่อน
พระนาคเสนถวายพระพรอุปมาว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร เปรียบดุจ
นิเวศเรือนมียอดอันงามยิ่ง ฝาและพรึง ชื่อเชิงกลอนและจั่วทั่วทัพพสัมภาระเครื่องเรือน
นั้นประชุมนักสิ้น เรียกว่าเรือนยอดนั้น ภูฏนินฺนา อาศัยมียอดเป็นจอม กูฏโปณา อาศัยมียอด
เป็นเงื้อม กูฏปพฺภารา อาศัยมียอดง้ำชะง่อนปกไป ยถา ฉันใด พระสมาธินี้เป็นประธานแก่กอง
กุศลทั้งปวงสิ้น กุศลธรรมทั้งสิ้นนั้น สมาธินินฺนา มีพระสมาธิเป็นยอดเป็นเงื้อมเป็นที่ปกงำดุจ
เรือนยอดนั้น ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์เป็นภูมินทราธิบดีมีพระราชาโองการตรัสว่า อาราธนาพระผู้เป็นเจ้า
กระทำอุปมาให้ภิยโยภาวะยิ่งขึ้นไปกว่านี้
พระนาคเสนมีเถรวาจาอุปมาอีกเล่าว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้ประ-
เสริฐในสมบัติมหาศาล เปรียบปานดุจบรมกษัตริย์อันมีที่เสด็จไปสู่ประเทศอันใดอันหนึ่ง
ด้วยพระบวรยศอันยิ่ง มีพยุหยาตราพร้อมด้วยจตุรงคเสนาทั้ง 4 คือ เสนาหัตถี เสนีอาชา เสนารถ
เสนีบทจรเดินลำลองปกป้องแห่แหนแสนสุรโยธา และเสนาจตุรงค์บรรดาที่ยกมานั้น ตํปมุขา
มีสมเด็จบรมกษัตราธิราชนั้นเป็นประธานสิ้น ตนฺนินฺนา มีพระมหากษัตราธิราชนั้นเป็นจอม
เป็นเงื้อมเป็นที่ปกงำ ยถา ฉันใด อันว่ากุศลธรรมทั้งหลาย ก็อาศัยพระสมาธิเป็นประธาน
เป็นจอมเป็นเงื้อมเป็นที่ปกงำ ดุจคนทั้งหลายอาศัยสมเด็จบรมกษัตริย์ฉะนั้น ขอถวายพระพร
สมด้วยวาระพระบาลีสมเด็จพระชินวรตรัสไว้ฉะนี้ สมาธิ ภิกขเว ภาเวถ สมาธิโก ภิกฺขุ ยถาภูตํ
ปชานาตีติ
แปลตามกระแสพระพุทธฎีกาว่า ภิกฺขเว ดูรานะภิกษุผู้กลัวภัยในวัฏสงสาร ตุมฺเห

ท่านทั้งหลายจงพากันฝักใฝ่เถิด ซึ่งพระสมาธิอันประเสริฐ ภิกษุรูปใดได้จำเริญพระสมาธิอัน
เลิศนี้จะดีนักหนา ปชานาติ จะตรัสรู้มรรคและผลและไตรวิชชาสมาบัติ ยถาภูตํ เที่ยงแท้ดังนี้
นี่แหละพระพุทธฎีกาโปรดไว้ จงทราบในพระบวรราชสันดานด้วยประการดังนี้
ฝ่ายสมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นกษัตริย์ก็มีพระราชโองการตรัสว่า กลฺโลสิ พระผู้เป็น
เจ้าวิสัชนานี้สมควรแล้ว
สมาธิลักขณปัญหา คำรบ 13 จบเท่านี้

ปัญญาลักขณปัญหา ที่ 14


ราชา สมเด็จพระเจ้ามิลินท์บรมกษัตริย์มีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต ข้าแต่พระ
ผู้เป็นเจ้าผู้เจริญ ปัญญานี้เล่ามีลักษณะอย่างไร
พระนาคเสนจึงถวายพระพรตอบไปว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร ปัญญา
นี้มีลักษณะตัดรอน อาตมาได้ถวายพระพรแล้ว บัดนี้ทรงถามอีกก็จะต้องวิสัชนาอีก ปัญญา
นี้มีลักษณะโอภาส
พระเจ้ามิลินท์ปิ่นกษัตริย์มีพระราชโองการตรัสว่า ปัญญามีลักษณะโอภาสอย่างไร
พระนาคเสนวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร ปัญญาโอภาสนั้น
เมื่อจะบังเกิดย่อมกำจัดอนธการอันมืดมัวคือตัวอวิชชาชาติ จึงให้วิชชาโอภาสบังเกิดส่องสว่าง
ืคือรู้ไปในธรรมแล้วมีปัญญาเล่า ก็คือปัญญาผ่องแผ้วสว่างกระจ่างแจ้ง พิจารณาเห็นองค์แห่ง
พระอริยสัจสันทัดแน่นอน ลำดับนั้นพระโยคาวจรพิจารณาซึ่งสังขารก็เห็นเป็น ทุกฺขํ บ้างเห็นเป็น
อนิจฺจํ บ้าง เห็นเป็น อนตฺตา บ้าง ด้วยโอภาสลักขณะ ปัญญาเห็นสว่างกระจ่างมาแต่พระอริยสัจ
นั้นอย่างนี้ชื่อว่าโอภาสลักขณปัญญา ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร มีสุนทรราชโองการตรัสว่า นิมนต์พระผู้เป็นเจ้า
กระทำอุปมาไปก่อน
พระนาคเสนก็ถวายพระพรอุปมว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ
ยิ่งมิ่งมไหศวรรย์ เปรียบปานดุจบุรุาผู้หนึ่งนั้นจุดประทีปคันและเทียนส่องเข้าไปในห้องเรือน